วันพฤหัสบดีที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2554

The Role of DSS Technology in Knowledge Management

ภาพรวมของระบบสนับสนุนการจัดการ

โดยภาพรวมของระบบสนับสนุนการจัดการบริหารงานในองค์กรแล้ว จะมีการนำเอาเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้เป็นเครื่องมือเพื่อช่วยแก้ไขปัญหาและสนับสนุนการตัดสินใจ และทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในหลาย ๆ ด้านในองค์กร ดังนี้

1. เปลี่ยนแปลงโครงสร้างขององค์กร เป็นการปรับโครงสร้างขององค์กรเพื่อให้สอดคล้องกับรูปแบบ

ธุรกิจใหม่ที่เน้นความรวดเร็ว อาจมีการลดระดับชั้นขององค์กรให้สั้นลง กระจายอำนาจในการตัดสินใจสู่พนักงานระดับล่างมากยิ่งขึ้น

2. การแปรสภาพหรือเปลี่ยนรูปแบบของธุรกิจ อาจมีการเปลี่ยนรูปแบบของการบริหารธุรกิจใหม่ เช่น บริษัท True (Together) Corporation ที่มีการแปรสภาพและรวมธุรกิจเข้ากับบริษัทอื่น ทำให้ต้องปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงาน เพื่อปรับตัวให้สามารถแข่งขันกับธุรกิจประเภทเดียวกันได้

3. เปลี่ยนแปลงรูปแบบและการบวนการบริหาร การจัดการงาน โดยเมื่อนำคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการทำงานแล้ว การทำให้มีการลด Function ในการทำงานและคงผลลัพธ์ (Output) เช่นเดิม เพื่อเป็นการลดวงรอบของเวลาในการประมวลผลกิจกรรม

ประเภทของการตัดสินใจ (Type of decision)

สามารถจำแนกประเภทของการตัดสินใจในการแก้ไขปัญหาออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้

1. การตัดสินใจเพื่อแก้ปัญหาแบบมีโครงสร้าง (Structured problem) เป็นการแก้ไขปัญหาที่สามารถวางแผน กำหนดรูปแบบในการแก้ไขปัญหาได้อย่างชัดเจน และแน่นอน เพราะส่วนใหญ่มักเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นซ้ำ ๆ (Routine) อาจใช้แบบจำลอง (Model) ทางคณิตศาสตร์คำนวณหาผลลัพธ์ ปัญหาประเภทนี้มักจะมีข้อมูลและข่าวสารประกอบการตัดสินใจอย่างครบถ้วน

2. การตัดสินใจเพื่อแก้ปัญหาแบบกึ่งโครงสร้าง (Semi-structured problem) บางครั้งอาจมีวิธีการแก้ไข

ปัญหาที่มีรูปแบบแน่นอนตายตัว ซึ่งปัญหาอาจมีลักษณะเฉพาะ หรือบางครั้งอาจสามารถแก้ปัญหาได้เพียงบางส่วน ที่เหลือต้องอาศัยประสบการณ์ และความชำนาญในการแก้ไข โดยสามารถนำ IT เข้ามาช่วยสนับสนุนและพยากรณ์ในส่วนนี้ได้ (เป็นการผสมระหว่างปัญหาแบบมีโครงสร้าง(structure) และแบบกึ่งโครงสร้าง (un-structure))

3. การตัดสินใจเพื่อแก้ปัญหาแบบที่ไม่มีโครงสร้าง (Un-structured Problem) ไม่มีวิธีการแก้ไขที่แน่นอนหรือตายตัว บ่อยครั้งที่ผู้บริหารหรือผู้ที่ทำการตัดสินใจนั้น จะต้องอาศัยสัญชาติญาณและประสบการณ์ที่ผ่านมาในอดีตสำหรับแก้ปัญหา เนื่องจากปัญหาประเภทนี้จะมีข้อมูลหรือข่าวสารประกอบการตัดสินใจไม่เพียงพอ ไม่สามารถใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ เช่น การตัดสินใจลงทุนในเรื่องหุ้น แต่ก็สามารถพัฒนาระบบ DSS เพื่อช่วยในการพยากรณ์ธุรกิจได้

รูปแบบของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support Systems Concept )

1.DSS เป็นระบบที่โต้ตอบโดยใช้ CBIS (computer-based Information systems) ซึ่งจะช่วยให้ผู้ทำการตัดสินใจใช้ประโยชน์จากข้อมูลและแบบจำลองในการแก้ปัญหาแบบไม่มีโครงสร้างได้ (Scott Morton, 1971).

2. DSS เป็นระบบที่นำคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้เป็นเครื่องมือ (Tools) เพื่อช่วยเพิ่มความสามารถให้กับคนในการแก้ไขปัญหา ซึ่งจะช่วยปรับปรุงให้กระบวนการตัดสินใจนั้นทำได้ดียิ่งขึ้น ระบบ CBIS จะช่วยให้ผู้จัดการหรือใครก็ตามที่ทำหน้าที่ในการตัดสินใจ ในการติดต่อเจรจาหรือจัดการกับธุรกิจ แก้ปัญหาแบบกึ่งโครงสร้างได้ (Keen and Scott Morton, 1978).

ลักษณะของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Major DSS Characteristics)

1.ช่วยวิเคราะห์ หรือลดความเสี่ยงในการตัดสินใจ

2.ใช้แบบจำลองช่วยในการวิเคราะห์ และอาจใช้ประสบการณ์ สัญชาตญาณ ในการพิจารณาและตัดสินใจ

3.ใช้แบบจำลองทางทางคณิตศาสตร์ เพื่อช่วยคำนวณหาคำตอบที่ถูกต้อง แต่อาจจะยังไม่สมบูรณ์นัก

4.DSS ช่วยให้สามารถทำการวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว

5.DSS มีความยืดหยุ่นในการตอบสนอง

ทำไมต้องใช้ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Why Use DSS)

เนื่องจากเล็งเห็นถึงประโยชน์ ดังต่อไปนี้

1. ช่วยให้การตัดสินใจมีคุณภาพมากขึ้น

2. ปรับปรุงในเรื่องการติดต่อสื่อสาร

3. ลดต้นทุน

4. เพิ่มผลผลิต

5. ประหยัดเวลา

6. ปรับปรุงด้านลูกค้าสัมพันธ์และความพึงพอใจของพนักงาน

เหตุผลหลักในการเลือกใช้ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Major Reasons )

1. ความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ ที่มีการเปลี่ยนแปลงทางการค้าและการแข่งขันอยู่ตลอดเวลา จำเป็นต้องอาศัย

โปรแกรม หรือแบบจำลองช่วยวิเคราะห์ข้อมูล

2. การมีธุรกิจมากมาย ทำให้ยุ่งยากในการติดตาม

3. เพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน

4. ใช้กับงานระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-commerce: EC)

5. ระบบที่มีอยู่ก่อนแล้วไม่สามารถช่วยสนับสนุนการตัดสินใจได้

6. แผนกสารสนเทศ (IS Department) มีงานมากจนเกินไป

7. ช่วยสำหรับการวิเคราะห์พิเศษ

8. ใช้กับข่าวสารที่ต้องการความถูกต้อง แม่นยำ

9. ต้องการเป็นองค์กรอันดับหนึ่ง

10. ต้องการข่าวสารใหม่ ๆ และทันกับความต้องการใช้

เหตุผลในการพัฒนาระบบ DSS

การใช้ระบบสารสนเทศที่มีอยู่เพียงอย่างเดียว อาจไม่เพียงพอที่จะใช้ประกอบการตัดสินใจ เช่นการระบบ TPS ในการออกรายงาน ผู้บริหารไม่สามารถอ่านรายงานได้ทั้งหมดเนื่องจากต้องใช้เวลามาก หรือใช้ระบบ MIS ช่วยสรุปผลรายงานประจำเดือน ประจำปี แต่ไม่ได้ช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูลหรือข่าวสารพิเศษ ประกอบกับปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจ และคู่แข่งทางการค้ามีมาก จึงเป็นเหตุผลในการนำระบบ DSS มาสนับสนุนการตัดสินใจสารสนเทศที่จำเป็นในการประกอบการตัดสินใจจะต้องเพียงพอ ครบถ้วน หากประมวลผลสารสนเทศโดยไม่ใช้คอมพิวเตอร์ จะมีความยุกยากและซับซ้อนเนื่องจากใช้เวลาในการแก้ปัญหาหนึ่ง ปัญหานานจนเกินไป อาจไม่มีเวลาพอสำหรับที่จะแก้ปัญหาอื่น

ประโยชน์ของ DSS

1. พัฒนาประสิทธิภาพการทำงานส่วนบุคคล

2. พัฒนาประสิทธิภาพการแก้ไขปัญหา

3. ช่วยอำนวยความสะดวกในการติดต่อสื่อสาร

4. ส่งเสริมการเรียนรู้หรือการฝึกหัด

5. เพิ่มประสิทธิภาพการควบคุมองค์กร

สรุปนิยามความหมายของระบบ DSS (Definition of DSS)

1. DSS เป็นระบบที่ทำงานบนพื้นฐานของ CBIS

2. สนับสนุนการแก้ไขปัญหาแบบมีโครงสร้างและกึ่งโครงสร้าง ถ้าเป็นปัญหาแบบไม่มีโครงสร้างจะต้องพัฒนาเป็นระบบ DSS แบบพิเศษ

3. ใช้ประโยชน์จากข้อมูล (Data) และการสร้างแบบจำลอง (Model)

4. เน้นการวิเคราะห์ข้อมูลและใช้สถิติ

5. นำเสนอข้อมูลต่อผู้บริหารระดับสูง และนักวิเคราะห์

คุณลักษณะและประสิทธิภาพของ DSS

1. เตรียมการสนับสนุน การแก้ไขปัญหาแบบกึ่งโครงสร้างและไม่มีโครงสร้าง รวมถึงสามารถปรับการคำนวณ ให้เข้ากับสารสนเทศเฉพาะของบุคคลได้

2. สนับสนุนการทำงานระดับจัดการที่หลากหลาย สำหรับผู้บริหารทุกระดับ

3. สนับสนุนการตัดสินใจรายบุคคลและการตัดสินใจกลุ่ม

4. สนับสนุนการตัดสินใจแบบอิสระ และการตัดสินใจทำงานตามลำดับในปัญหาต่อเนื่อง หรือปัญหาลูกโซ่

5. สนับสนุนทุก ๆ ด้านของกระบวนการตัดสินใจ ตั้งแต่ขั้นตอน Intelligent, Design และ Choice

6. สนับสนุนการตัดสินใจที่หลากหลายรูปแบบ

7. ปรับใช้กับปัญหาแบบอื่นได้ สามารถดัดแปลงและมีความยืดหยุ่น

8. อำนวยความสะดวกต่อผู้ใช้ ง่ายต่อการใช้งานและโต้ตอบกับ user ได้

9. มีเป้าหมายหลัก คือ ทำให้การตัดสินใจมีประสิทธิภาพสูงสุด

10. ผู้ที่ทำการตัดสินใจจะต้องควบคุมกระบวนการได้

11. ผู้ใช้ (End-users) สามารถสร้างระบบ DSS อย่างง่ายได้

12. เป็นระบบใช้ประโยชน์จากแบบจำลอง (models) เพื่อวิเคราะห์ข้อมูล

13. เตรียมการเข้าถึงแหล่งข้อมูลด้วยวิธีการที่หลากหลาย และเข้าถึงข้อมูลได้จากหลายแหล่ง มีรูปแบบข้อมูลเป็นมาตรฐาน และมีชนิดข้อมูลที่หลากหลาย

องค์ประกอบของระบบสนับ DSS (DSS Components)

1 ระบบจัดการข้อมูล (Data Management Subsystem)

2 ระบบจัดการแบบจำลอง (Model Management Subsystem)

3 ระบบจัดการฐานความรู้ (Knowledge-based (Management) Subsystem)

4 ระบบโต้ตอบกับผู้ใช้ (User Interface Subsystem)

5 ผู้ใช้งานระบบ (The User)

การจัดการองค์ความรู้(Knowledge Management)

ในการแก้ปัญหาทางด้านธุรกิจที่แต่ละองค์กรจะต้องเผชิญอยู่ตลอดเวลา การแก้ปัญหานั้นจะต้องมีข้อมูลและข่าวสารประกอบการตัดสิน ข่าวสารที่ได้จากการวิเคราะห์และนำไปใช้แก้ปัญหาอาจจะแก้ปัญหาได้ไม่ประสบผลสำเร็จทุกครั้ง ดังนั้นทุก ๆ ปัญหาที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับการดำเนินงานขององค์กร ความรู้ที่องค์กรใช้ในการแก้ปัญหา ผลลัพธ์ที่ได้หลังการแก้ปัญหา ไม่ว่าจะสำเร็จหรือล้มเหลว สิ่งเหล่านี้จัดเป็นองค์ความรู้และประสบการณ์อย่างหนึ่งขององค์กร ซึ่งแต่ละองค์กรควรมีระบบจัดเก็บความรู้ที่สามารถจัดเก็บได้อย่างถาวร เพื่อเอาไว้ใช้แก้ปัญหาครั้งต่อ ๆ ไป รวมทั้งเป็นการป้องกันการสูญหายของความรู้ เพราะถ้าหากองค์กรไม่สร้างระบบจัดเก็บองค์ความรู้ทั้งหมดที่มีอยู่ ความรู้นั้นอาจจะตายและสูญหายไปในที่สุด

องค์ความรู้ (Knowledge)

องค์ความรู้ คือข้อมูล (Data) หรือข่าวสาร (Information)ที่สามารถอธิบายความได้ มีความสัมพันธ์กับปัญหา สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการแก้ไขปัญหาได้อย่างตรงประเด็น ซึ่งองค์ความรู้จัดเป็นทรัพย์สินทางปัญญาอย่างหนึ่งขององค์กร สามารถแลกเปลี่ยนทรัพย์สินนี้ได้ระหว่างบุคคล และทรัพย์สินชนิดนี้สามารถเจริญเติบโตหรือพัฒนาให้เพิ่มพูนได้ ดังนั้นองค์ความรู้จึงจัดเป็นพลังพิเศษขององค์กร ที่จะสามารถเพิ่มผลกำไรให้กับองค์กรได้ในอนาคต

ประเภทขององค์ความรู้ (Knowledge Types)

1. Base knowledge คือ องค์ความรู้พื้นฐานขององค์กร ซึ่งทุกองค์กรจะต้องมี จัดเป็นองค์ความรู้ที่มี

ความสำคัญ ใช้ในการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน และใช้วางแผนระยะสั้นขององค์กร

2. Trivial knowledge คือ องค์ความรู้ทั่วไปขององค์กร เก็บรวบรวมไว้ในองค์กรแต่ไม่ได้ใช้ในการตัดสินใจกับงานหลักหรือภารกิจหลักขององค์กร

3. Explicit knowledge คือ องค์ความรู้ที่มีโครงสร้างชัดเจน สามารถเขียนบรรยายได้อย่างชัดเจนในรูปแบบของกระดาษ (Paper) หรือรายงาน (Report) ซึ่ง Explicit Knowledge อาจได้มาจากวัตถุประสงค์หลักในการดำเนินงานขององค์กร ข้อมูลที่ว่าด้วยหลักเหตุผลต่าง ๆ หรือข้อมูลด้านเทคนิค ซึ่งองค์ความรู้เหล่านี้สามารถเก็บรวบรวมได้ง่าย ๆ จากแหล่งเอกสารในองค์กร สามารถถ่ายทอดให้กับคนอื่นได้ง่ายอาจจะโดยวิธีการสอนหรือการเรียนรู้

4. Tacit knowledge คือ องค์ความรู้ที่ไม่มีโครงสร้าง ไม่สามารถบรรยายหรือเก็บรวบรวมได้จากแหล่งเอกสาร เป็นความรู้ที่สั่งสมมาจากประสบการณ์ที่เคยพบเจอกับปัญหาต่าง ๆ อาจจะเป็นสัญชาตญาณ และความชำนาญเฉพาะด้านของบุคคล ซึ่งปัจจุบันองค์ความรู้ประเภทนี้ กำลังถูกพัฒนาให้มีการจัดเก็บ เพราะเป็นความรู้ที่นอกเหนือจากมีอยู่ในรูปแบบของ Explicit knowledge

Tacit Knowledge เป็นความรู้ที่อยู่ในใจ เรียนรู้ได้จากประสบการณ์ ยากที่จะเขียนออกมาเป็นรูปของเอกสาร ยากต่อการถ่ายทอด ยากในการสอนและยากในการเรียนรู้ และองค์ความรู้ชนิดนี้ยังหมายความไปถึงการบอกเล่าของบุคคลอีกด้วย

การจัดการองค์ความรู้ (Knowledge Management: KM)

การจัดการองค์ความรู้ เป็นกระบวนการในการล้วงเอาความจริงภายในองค์กรออกมา จากนั้นทำการเปลี่ยนรูป และเผยแพร่องค์ความรู้นั้นผ่านทางหน่ายงานต่าง ๆ ขององค์กร ดังนั้นองค์กรสามารถใช้องค์ความรู้ร่วมกันได้ ซึ่งเมื่อนำองค์ความไปใช้งานแล้ว องค์ความรู้นั้นจะไม่หมดสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้อีก องค์ความรู้จะช่วยทำให้องค์กรสามารถค้นหา คัดเลือก จัดการ เผยแพร่ และส่งมอบข่าวสารและความเชี่ยวชาญในการแก้ไขปัญหาที่สำคัญได้

การจัดการกับองค์ความรู้นั้น จะทำการเปลี่ยนรูปข้อมูลและข่าวสารให้อยู่ในรูปขององค์ความรู้ที่สามารถนำไปใช้ปฏิบัติการในการแก้ไขปัญหาได้ และต้องสามารถใช้ได้ผลกับทุก ๆ หน่วยงาน และกับทุก ๆ คน ภายในองค์กร

การเชื่อมโยงองค์ความรู้แบบ Explicit Knowledge และ Tacit Knowledge

องค์กรสามารถสร้างแกนกลางในการจัดเก็บองค์ความรู้ ซึ่งสามารถเชื่อมโยงระหว่างองค์ความรู้แบบมีโครงสร้างและไม่มีโครงสร้างเข้าไว้ด้วยกัน เพื่อรวมเป็นแหล่งองค์ความรู้ทั้งหมดขององค์กร

ในขณะที่เราอยู่ในกระบวนการแปลงองค์ความรู้แบบไม่มีโครงสร้าง (Tacit Knowledge) ให้เป็น องค์ความรู้ที่มีโครงสร้าง (Explicit Knowledge) นั้น ระหว่างนั้นก็จะเป็นการสร้างองค์ความรู้แบบไม่มีโครงสร้างขึ้นมาใหม่อีกด้วย (generate new tacit knowledge) อธิบายความสัมพันธ์ ได้ดังนี้

1. องค์ความรู้แบบไม่มีโครงสร้าง (Tacit Knowledge) คือ องค์ความที่ไม่มีรูปแบบชัดเจน หาไม่ได้ตามตำรา เช่น ประสบการณ์และความชำนาญเฉพาะบุคคล เป็นกระบวนการในการเปลี่ยนความรู้แบบไม่มีโครงสร้าง (Tacit Knowledge) ให้เป็นความรู้แบบมีโครงสร้าง (Explicit Knowledge) เพื่อให้ความรู้นั้นสามารถอธิบายความได้อย่างชัดเจน เมื่อ Tacit Knowledge ที่ถูกนำไปจัดเก็บไว้ในแกนกลางขององค์กร (Core Competencies of the Organization) ความรู้นั้นจะประกอบด้วย ความชำนาญ สิ่งต่าง ๆ ที่รับรู้และอธิบายได้ด้วยเหตุผล แนวคิด วัฒนธรรมองค์กร และสิ่งที่มีคุณค่าต่าง ๆ

2. องค์ความรู้แบบมีโครงสร้าง (Explicit Knowledge) คือ องค์ความรู้ที่สามารถเขียนอธิบายได้ชัดเจน เช่น รายงาน จะนำความรู้ที่ชัดเจนนี้ไปใช้แก้ปัญหา กำหนดนโยบาย กำหนดกลยุทธ์ ใช้ในการตัดสินใจ จัดทำเอกสารสิทธิ์ และใช้จัดการกับระบบสารสนเทศ สามารถเขียนความรู้นั้นออกมาในรูปของกระดาษ (Paper) และนำไปเก็บไว้ที่แกนกลางองค์ความรู้ขององค์กร (Core Competencies of the Organization)

3. แกนกลางองค์ความรู้ขององค์กร (Core Competencies of the Organization) คือแหล่งในการจัดเก็บความสามารถขององค์กร เป็นศูนย์กลางความรู้สำหรับการบริหารงานและความสามารถที่แท้จริงขององค์กร

จากที่กล่าวมา สามารถสรุปเกี่ยวกับการจัดการองค์ความรู้ ได้ว่า การจัดการองค์ความรู้เป็นวิธีการที่เก่าแก่และมีมานานแล้วตั้งแต่สมัยโบราณ ในการจัดการองค์ความรู้นั้นจะต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่ายและทุกระดับขององค์กร เราสามารถปฏิวัติและเปลี่ยนแปลงองค์กร ด้วยการให้ความร่วมมือ และพัฒนาการจัดการองค์ความรู้ และองค์ความรู้ถือเป็นทรัพย์สินทางปัญญาขององค์กร องค์ความรู้นี้จะสามารถส่งมอบแนวทางสำหรับการแก้ปัญหาที่เหมาะสมกับทุก ๆ คนในองค์กร และใช้ได้โดยไม่จำกัดสถานที่การจัดการองค์ความรู้ เป็นการจัดเก็บข้อมูลข่าวสารที่เป็นองค์ความรู้ในการใช้แก้ไขปัญหาต่าง ๆ ขององค์กร รวบรวมไว้ในคอมพิวเตอร์ เพื่อให้เกิดการถ่ายทอดจากบุคคลหนึ่งไปยังบุคคลหนึ่ง เพื่อใช้แก้ปัญหาในการปฏิบัติงาน ซึ่งองค์ความรู้ถือได้ว่าเป็นทรัพย์สินทางปัญญา เมื่อจะเก็บแล้วจะต้องมีการถ่ายทอดและเผยแพร่ เพื่อให้เกิดการนำไปใช้ประโยชน์ ให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานต่อองค์กรให้มากที่สุด องค์ความจะเก็บรวบรวมได้จากผู้เชี่ยวชาญ หรือกลุ่มคนพิเศษ ประสบการณ์ หรือความทรงจำขององค์กร หรืออาจมาจากวัฒนธรรมองค์กร (Organizational Culture) ดังนั้นผู้จัดการที่ดีควรมีระบบจัดการองค์ความรู้ เพื่อพร้อมใช้งานอยู่เสมอ

ข้อแนะนำเกี่ยวกับการจัดการองค์ความรู้

ต้องกำหนดคำนิยามความหมายขององค์ความรู้ให้ชัดเจน กำหนดหลักการเกี่ยวกับวิธีที่จะใช้จัดการกับองค์ความรู้ให้ชัดเจน และสิ่งที่ท้าทายที่สุดในการจัดการองค์ความรู้ ก็คือ ความชัดเจนในทุก ๆ ด้าน ตั้งแต่การอธิบายความหมายของความรู้นั้น อุปสรรคที่จะผ่านพ้นไปได้ ผลประโยชน์ที่ชัดเจนซึ่งต้องมีมากพอที่จะทำให้เกิดระบบจัดการองค์ความรู้ รวมถึงเครื่องมือและเทคโนโลยีที่สามารถนำมาใช้งานร่วมด้วย

กุญแจสำคัญของการจัดการองค์ความรู้

กุญแจสำคัญที่จะทำให้การจัดการองค์ความรู้นั้นประสบผลสำเร็จ ประกอบด้วย วัฒนธรรมองค์กร (Organizational culture) ผู้บริหารที่เป็นผู้อุปถัมภ์ (Executive sponsorship) และเป็นผู้ผลักดันการทำงาน การกำหนดเกณฑ์ในการวัดผลสำเร็จ (Measuring success)

ในอนาคตอาจจะมีซอฟต์แวร์ KM packages ที่ได้มาตรฐานครอบคลุมการทำงานขององค์กร วางจำหน่าย

วัตถุประสงค์ของการจัดการองค์ความรู้ (KM Objectives)

1. เพื่อสร้างระบบจัดเก็บองค์ความรู้ (Create knowledge repositories)

2. เพื่อปรับปรุงการเข้าถึงองค์ความรู้ (Improve knowledge access)

3. เพื่อยกระดับสภาพแวดล้อมขององค์ความรู้ให้ดีขึ้น (Enhance the knowledge environment)

4. เพื่อจัดการองค์ความรู้ให้เป็นทรัพย์สินที่มีค่า และมีประโยชน์ (Manage knowledge as an asset)

ที่เก็บองค์ความรู้ (Knowledge Repository)

เป็นที่เก็บหรือที่รองรับองค์ความรู้ หรือเรียกว่า คลังองค์ความรู้ เป็นที่สำหรับเก็บรวบรวมองค์ความรู้จากภายในและภายนอกองค์กร เก็บไว้ในคลังข้อมูลกลาง

ขั้นตอนในการจัดการองค์ความรู้ (KM Activities)

1. Externalization เป็นการนำองค์ความรู้ที่ได้จากแหล่งภายนอก มาจัดรูปแบบ

2. Internalization จัดรูปแบบองค์ความรู้ที่มีอยู่ให้เป็นรูปแบบ (Format) ภายใน คือ การจำแนกองค์ความรู้แบบมีโครงสร้าง (Explicit Knowledge) ให้ตรงกับความต้องการใช้งาน ผนวกเข้ากับองค์ความรู้ที่มาจากภายนอก (Externalization)

3. Intermediation การเชื่อมต่อกับองค์ความรู้ จะเป็นสื่อกลางที่ผู้ใช้ จะใช้ในการเข้าถึงหรือค้นหาองค์ความรู้ สื่อกลางส่วนมากจะเป็นเทคโนโลยี เช่น Internet, Groupware หรือ Workflow เป็นต้น

4. Cognition กระบวนการรับรู้ คือ กระบวนการรับองความรู้และประยุกต์ใช้งาน และแลกเปลี่ยนองค์ความรู้

วงจรการจัดการองค์ความรู้ (Cyclic Model of KM)

1. การสร้างองค์ความรู้ (Create knowledge) นำประสบการณ์ที่ได้จากทั้งภายในและภายนอกองค์กรมาสร้างเป็นองค์ความรู้

2. คัดเลือกองค์ความรู้ (Capture knowledge) เป็นการจัดรูปแบบ จำแนกองค์ความรู้ตามประโยชน์การใช้งานเพื่อจะนำเสนอในการแก้ไขปัญหาได้อย่างตรงประเด็นและเหมาะสม

3. สกัดองค์ความรู้ (Refine knowledge) เป็นการขัดเกลาองค์ความรู้ ทำให้เป็นองค์ความรู้ที่บริสุทธิ์ ปรับปรุงเนื้อหาขององค์ความรู้เพื่อให้องค์ความรู้นั้นเกิดความชัดเจน

4. จัดเก็บองค์ความรู้ (Store knowledge) นำองค์ความรู้ที่ได้มาจัดเก็บไว้ในคลังองค์ความรู้ เพื่อจะได้นำไปเผยแพร่สำหรับใช้งานต่อไป

5. จัดการองค์ความรู้ (Manage knowledge) สร้างระบบบริหารจัดการสำหรับการนำ องค์ความรู้ไปใช้งาน

6. การเผยแพร่องค์ความรู้ (Disseminate knowledge) เป็นการกระจายและเผยแพร่องค์ความรู้แก่บุคลากรในองค์กร เพื่อนำไปใช้แก้ปัญหา

อ้างอิง

http://www.no-poor.com/dssandos/index_dss.html

The Role of DSS Technology in Knowledge Management

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น